ความปรับตัวฟื้นฟูของจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว

เรียนรู้วิธีการสร้างแหล่งท่องเที่ยวปรับตัวฟื้นฟูกับ หลักสูตรความปรับตัวฟื้นฟูของจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว (Tourism Destination Resilience หรือ TDR) โดย PATA ในแต่ละบทเรียนจากทั้ง 10 บทเรียน คุณจะได้รับประกาศนียบัตรย่อย และประกาศนียบัตรรับรองการศึกษาสำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษา และเสร็จสิ้นการทำบททดสอบสุดท้าย
Current Status
Not Enrolled
Price
Free
Get Started

เกี่ยวกับหลักสูตร

 

หลักสูตรความปรับตัวฟื้นฟูของจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว (TDR) โดย PATA เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนให้ภาคการท่องเที่ยวมีความปรับตัวฟื้นฟูมากขึ้น ด้วยการช่วยให้แหล่งท่องเที่ยวฟื้นตัวจากวิกฤต COVID-19 และที่สำคัญกว่านั้นคือการเตรียมพร้อมพวกเขาให้สามารถรับมือกับวิกฤตครั้งต่อๆ ไป หลักสูตรนี้มีรากฐานมาจาก ข้อมูลและทรัพยากรณ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นตลอดกว่าทศวรรษที่ผ่านมา และยังถูกปรับปรุงให้มีกลยุทธ์ใหม่ที่ทันกับสถานการณ์หลัง COVID-19 การล็อกดาว และโลกดิจิทัล เนื้อหาตลอดหลักสูตรจะอ้างอิงถึงแหล่งข้อมูลเหล่านี้ รวมถึงเอกสารจากห้องสมุด PATA Crisis Resource Center ที่เปิดเป็นสาธารณะเพื่อการค้นคว้า

หลักสูตรนี้รวมเอาความรู้ด้าน การบริหารแหล่งท่องเที่ยว (Destination Management) การปกปักรักษาแหล่งท่องเที่ยว (Destination Stewardship) การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) และขีดความสามารถในการปรับตัว (Adaptive Capacity) เข้ามาเพื่อสร้าง กรอบงานการพัฒนาความปรับตัวฟื้นฟูของแหล่งท่องเที่ยวที่ครอบคลุม อันเป็นขั้นตอนที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน  ได้เวลาเริ่มต้นเรียนรู้หลักสูตรความปรับตัวฟื้นฟูของจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว (TDR) สมัคร และเริ่มต้นการเรียนรู้ได้ที่นี่!


Course Content

Expand All

บทรียนที่ 1 – บทนำสู่จุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่มีความปรับตัวฟื้นฟู

บทเรียนแรกจะแนะนำถึงความหมาย และกรอบงานของความปรับตัวฟื้นฟูของจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยว (TDR) และโครงสร้างของหลักสูตรนี้

บทเรียนที่ 2 – การประเมินความเสี่ยง

บทเรียนที่ 2 นำเสนอความสำคัญ และขั้นตอนที่จำเป็นในการดำเนินการประเมินความเสี่ยงภายในแหล่งท่องเที่ยว

บทเรียนที่ 3 – กลยุทธ์การบริหารแหล่งท่องเที่ยว

บทเรียนนี้จะพูดถึงการบริหารแหล่งท่องเที่ยว และกลุยุทธ์ในการสร้างความปรับตัวฟื้นฟู โดยจะพูดถึงนวัตกรรมทั้งในแง่การกำกับดูและการประสานงาน ที่จะทำให้คุณเห็นภาพการทำงานอย่างครอบคลุม มีความปรับตัวฟื้นฟู และมีความยั่งยืนในระยะยาวในการบริหารแหล่งท่องเที่ยว

บทเรียนที่ 4 – การวางแผนฉุกเฉิน

บทเรียนที่ 4 จะนำเสนอคำจำกัดความ องค์ประกอบสำคัญ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดและวางแผนฉุกเฉินของแหล่งท่องเที่ยว

บทเรียนที่ 5 – การวางแผนหลังวิกฤติ: การตอบสนอง การทบทวนใหม่ และการกู้คืน

บทเรียนนี้จะแนะนำถึงกรอบงาน การตอบสนอง การทบทวนใหม่ และการกู้คืน ของแผนการกู้คืนหลังวิกฤตของแหล่งท่องเที่ยว

บทเรียนที่ 6 – การฝึกอบรม และการสร้างขีดความสามารถ

บทเรียนที่ 6 จะนำเสนอขีดความสามารถสำคัญที่จำเป็นต้องถูกเสริมความแข็งแกร่งสำหรับทุกๆ แหล่งท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัว และความปรับตัวฟื้นฟู

บทเรียนที่ 7 – โครงสร้างพื้นฐาน และบริการที่มีความปรับตัวฟื้นฟู

บทเรียนนี้จะพูดถึงอุปสรรค และวิธีการแก้ปัญหา ในบริบทของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการที่มีความปรับตัวฟื้นฟู

บทเรียนที่ 8 – ตลาดอุปสงค์และอุปทานในท้องถิ่นและภูมิภาค

บทเรียนที่ 8 จะแนะนำความจำเป็นในการกระชับห่วงโซ่อุปสงค์และอุปทานในฐานะกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพมาก ในช่วงเวลาวิกฤติ และในระยะยาว

บทเรียนที่ 9 – การกระจายความเสี่ยงในภาคการท่องเที่ยว

บทเรียนนี้จะนำเสนอกุญแจของกลยุทธ์การกระจายความเสี่ยงสำหรับแหล่งท่องเที่ยว ในฐานะตัวแปรที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวให้แก่พวกเขา

บทเรียนที่ 10 – ความยั่งยืนในฐานะความได้เปรียบทางการแข่งขัน

บทเรียนที่ 10 – ความยั่งยืนในฐานะความได้เปรียบทางการแข่งขัน